เชื้อรา ในสุนัขและแมว

<a href="http://perfectdogsthailand cheap vardenafil.com/wp-content/uploads/2014/09/เชื้อราหมา.jpg”>เชื้อราหมา

หลายท่าน คงเคยสงสัยว่าสุนัขและแมว ของเรามีอาการคัน ขนร่วงนั้น เป็นเพราะ อะไร?

เชื้อรา หรือขี้เรื้อน วันนี้มารู้เรื่อง เชื้อรากัน ตามภาพมีรอยแดง ตามจุดอับ ของสุนัข

ถ้าเป็นแล้ว จะรักษาได้อย่างไร ? รู้สึกคัน แล้วสิ ติดต่อมาสู่คนได้หรือไม่?  แล้ว ควรดูแล สุนัขและแมวของเราอย่างไรดี?

ปัญหา มากมายเลย ใช่ไหม

มาทําความรู้จักกับเชื้อราในสุนัขและแมวกันดีกว่า
Q : สุนัขและแมวที่เป็นเชื้อราจะมีอาการแสดงอย่างไร?
A : สุนัขและแมวที่มีปัญหาเชื้อรา จะมีขนร่วง โดยอาจ เป็นวง ๆ หรือกระจาย ทั่วไป
โดยอาจพบร่วมกับสะเก็ด รังแค ผื่นแดงๆ  หรือขนมันๆ อาบเท่าไหร่ก็ไม่สะอาด

ในบางรายอาจมีการติดเชื้อราบริเวณเล็บ ร่วมด้วย ซึ่ง สุนัขและแมวอาจแสดงอาการคันหรือ ไม่คัน ก็เป็นได้

หากมีอาการคันมักพบว่า มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ส่วนบางรายที่มีการติดเชื้อราในผิวหนังชั้นลึกจะพบว่าผิวหนังเป็นตุ่มใหญ่ หรือเป็นก้อน บวมนูน ลักษณะคลายเนื้องอก ภายในอาจมีก้อนหนอง และมีการอักเสบร่วมด้วย (ซึ่งการติดเชื้อราในผิวหนังชั้นลึกนั้น พบได้ไม่มาก ) ตกใจหมดเลย  ^-^

สัตว์ที่พบได้บ่อยๆ คือ แมวเปอร์เซีย และสุนัข สายพันธุ์ Yorkshire Terrier

 

Q : สุนัขและแมวกลุ่มใดที่มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อรา
A : การติดเชื้อรามี องค์ประกอบหลายอย่าง โดยองค์ประกอบหลัก คือ สุขภาพ ร่างกายของสุนัข,แมว ภาวะภูมิคุ้มกัน

หากสุขภาพร่างกายของสุนัขและแมวไม่แข็งแรง เช่น สัตว์ อายุน้อย หรืออายุมาก อาจมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ อยู่ในสภาวะถูกกดภูมิคุ้มกันจากโรคที่เป็นอยู่ หรือเกิดจากการใช้ยาบางชนิด  ,การขาดอาหารหรือการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ความเครียด ฯลฯ

หากร่วมกับการได้รับเชื้อรา ชนิดที่ก่อโรค และได้รับเป็นจํานวนมากนั้น  ล้วนมีส่วนทําให้สุนัขและแมวมีปัญหาติดเชื้อราได้

เหมือนคน เลยเน๊อะ  !!!!

Q : เราจะทราบได้อย่างไรว่า น้องหมา และแมว มีปัญหาเชื้อรา เข้าแล้ว
A : สุนัขและแมว ที่มีอาการ คัน ขนร่วง ผื่นแดง ตุ่มแดง สะเก็ด รังแค ขนมันๆ เหนอะๆ ฯลฯ
จะมีอาการที่ คล้ายคลึงกันหลายโรค เช่น ผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อ แบคทีเรีย ปรสิตภายนอก
ภาวะภูมิแพ้ (แพ้น้ําลายหมัด, แพ้สิ่งสัมผัส, ภูมิแพ้, แพ้อาหาร ) ไรขี้เรื้อน ภาวะภูมิคุ้มกันทําลายผิวหนังตนเองฯลฯ เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอาการทางผิวหนังดังกล่าว เจ้าของจึงควรพาสุนัขและแมว ไปพบสัตวแพทย์ ไม่ควรใชยาเองเนื่องจากการใช้ยาไม่ ถูกกับโรคนั้น นอกจากสุนัข และแมวของเราจะไม่หาย แล้วแต่อาจทําให้อาการลุกลามมาก ขึ้นได้

โดยวิธีการวินิจฉยว่าสุนัขและแมวมีปัญหาเชื้อรานั้นมีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจเส้นขน การใช้หลอด UV ตรวจสารเรืองแสงจากเชื้อราบางชนิด การตรวจชิ้นเนื้อ การเพาะเชื้อรา ฯลฯ ซึ่งการเพาะเชื้อรานี้เป็นวิธีมาตรฐานในปัจจุบันบันที่แม่นยําที่สุดในการวินิจฉัยปัญหาโรคผิวหนังที่ เกิดจากเชื้อรา และที่

สําคัญสุนัขและแมวไม่เจ็บ อีกด้วย โดยสัตวแพทย์จะนําเส้นขนและสะเก็ดรังแคจาก
บริเวณที่ สงสัยไปเพาะในอาหารเลี้ยงเชื้อรา รอผล 10 วัน เท่านั้น  หากมีปุยเชื้อรา เกิดขึ้นใน อาหารเลี้ยง เชื้อรวมกับสีของอาหารเปลี่ยนไป

ตามที่ชุดเพาะลี้ยงเชื้อรากําหนด (จากสีเหลืองเป็นสีแดง) นั้นถือ
ว่าเป็นผลบวก ซึ่งสัตวแพทยจะทำการตรวจแยกในขั้นต่อไปว่าเป็นเชื้อรา ชนิดใด

Q : หากสุนัขและแมวเป็นเชื้อราต้องได้รับการรักษาหรือไม่ อย่างไร?
A : ในสัตว์เลี้ยงที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีปัญหาการติดเชื้อราเพียงเล็กน้อย และไม่ลุกลามนั้น อาจหายเองได้ โดยภูมิคุ้มกันของตนเอง โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 2-4 เดือน แต่หากไป รักษาจะชวยลดระยะเวลา ลง

โดยการรักษาที่ดีที่สุดนั้นควรประกอบด้วย

1. การใช้ยาเฉพาะที่ หรือแชมพูกําจัดเชื้อรา (ส่วนใหญ่สีแดง ) เพื่อฆ่าเชอราและสปอร์ ของเชื้อราบนตัวสัตว์ ป้องกันการแพร่กระจาย
2. การใช้ยาทาน เพื่อฆ่าเชื้อรา โดยมีวัตถุประสงค์ให้การติดเชื้ออไม่ลุกลาม และลดระยะเวลาของการติดเชื้อให้สั้นลง
3. การใช้น้ํายาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราทําความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่สุนัขและแมวอยู่ เพื่อลดโอกาสการกลับมาติดเชื้อซ้ำและลดการแพร่กระจายของเชื้อราสู่คนและสัตว์อื่นๆ โดยใช้ระยะเวลาในการรักษาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1  – 1  เดือนครึ่ง และประเมินผลการรักษากับสัตวแพทย์ เป็นระยะ เพราะโรคนี้อาจกลับมาเป็นอีกได้

Q : ยาที่ใช้ ในการรักษาเชื้อราแบบรับประทาน มีผลข้างเคียงต่อสุนัขและแมวหรือไม่
A : ยาที่ใช้ในการรักษาเชื้อรามีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับกลไกการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยา ซึ่ง
มักจะเลือกใช้ยาที่ ปลอดภัยต่อ หมาและแมว (ส่วนใหญ่ เป็นยาที่ใช้ในการรักษาเชื้อราในคน)
Q : การดูแลสุนัขและแมวที่มีปัญหาเชื้อรานั้นมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร
A : สุนัขและแมวที่มีปัญหาเชื้อรานั้นควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในรายที่เป็นลูกสัตว์ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ หากมีการเลี้ยงรวมกัน ควรแยกที่เป็น ออกเพื่อลดการกระจายเชื้อไปัยงตัวอื่นๆ ด้วย และ ควรไปร้าน Petshop โกนขนทิ้ง  เพื่อ ง่ายต่อการใช้แชมพูยา หรือยาฆ่าเชื้อรา
นอกจากนี้เจ้าของเอง ควรดูแลสุขภาพร่างกายของตนให้แข็งแรงและรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากเชื้อราก่อโรคในสุนัขและแมวสามารถติดต่อมาสู่ คนได้โดยเฉพาะในเด็ก และผู้สูงวัย มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เครียด ฯลฯ

ที่สำคัญความทำความสะอาด ของใช้ ที่นอน กรง โดยใช้น้ำยาซักผ้าขาว เจือจาง ล้างหรือถู และตามด้วยน้ำเปล่า จนสะอาด

 

ขอขอบคุณ
โรงพยาบาลสัตวเล็กคณะสัตวแพทยศาสตร
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย